Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1101
Title: | การใช้ผักบุ้งและผักกระเฉดในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอเอส |
Other Titles: | Using ipomoea aquatica forsk. and neptunia oleracea lour. for reducing nitrogen and phosphorus in effluent from activated sludge wastewater treatment system |
Authors: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย วิรัตนา สุขเกษม, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมทรง อินสว่าง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดไนโตรเจน น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดฟอสฟอรัส ผักบุ้ง--การใช้ประโยชน์ ผักกระเฉด--การใช้ประโยชน์ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักบุ้งและผัก กระเฉดในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในนํ้าทิ้งจากระบบบำบัดนํ้าเสียแบบเอเอส (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้กับการไม่ใช้ผักบุ้ง และการใช้กับการไม่ใช้ผักกระเฉด ในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน่าทิ้งจากระบบบำบัดนำเสียแบบเอเอส (3) หาระยะเวลากักพักชลศาสตร์ที่เหมาะสมในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในนําทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสโดยการใช้ผักบุ้งและผักกระเฉด (4) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโตของผักบุ้งและผักกระเฉด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผักบุ้งและผักกระเฉดในแหล่งน้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ไปทดลองในบ่อทดลองบึงประดิษฐ์ในการลดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ในน้ำทิ้งจากระบบบัดน้ำเสียแบบเอเอส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผักบุ้งมีประสิทธิภาพในการลดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส สูงกว่าผักกระเฉด (2) การใช้ผักบุ้ง หรือผักกระเฉดมีประสิทธิภาพในการลดไนโตรเจน และฟอสฟอรัสใกล้เคียงกับการไม่ใช้ผักบุ้ง หรือไม่ใช้ผักกระเฉด แต่การใช้ผักทั้งสองทำให้ซีโอดีมีค่าไม่เกิน มาตรฐาน ทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากลดภาวะสาหร่ายบานสะพรั่งลง (3) ระยะเวลากักพักชลศาสตร์ที่ 20 วัน เหมาะสมในการลดไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยการใช้ผักบุ้งและผักกระเฉด (4) ช่วงอายุการเจริญเติบโตของผักบุ้ง และของผักกระเฉดที่ 60 วัน มีประสิทธิภาพในการลดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงสุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1101 https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2004.253 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License