กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11015
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using Online guidance activities package based on rational emotive behavior theory to develop learning Aspect of growth mindset in grade 7-9 students, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุขอรุณ วงษ์ทิม กัญญาวีร์ พิมพิสนธิ์, 2538- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิธิพัฒน์ เมฆขจร |
คำสำคัญ: | การแนะแนวการศึกษา ครูแนะแนว--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์และ (2) เปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์กับนักเรียนที่ทำกิจกรรมแนะแนวแบบปกติกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 14 คน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงแล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (2) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติและ(3) แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ มัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไทล์ การทดสอบวิลคอกซันและการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์นักเรียนกลุ่มทดลองมีกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบออนไลน์ มีกรอบความคิดแบบเติบโตด้านการเรียนสูงกว่าของนักเรียนที่ทำกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11015 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168390.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License