กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11017
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์โลก ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนมติทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using computer assisted Instruction in the topic of world geography on learning achievement and geographical concepts of Matthayom Suksa V Students at Triamudom Suksa Pattanakarn Ratchada School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทมาศ บัวจันทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ภูมิศาสตร์--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ โลกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์โลก ที่เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยมโนมติทางภูมิศาสตร์หลังเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์โลกที่เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่ไม่ได้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนเท่า ๆ กันรวม 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดมโนมติทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าประสิทธิภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผลการวิจัย (1) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์โลก มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคะแนนเฉลี่ยมโนมติทางภูมิศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11017
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168396.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons