กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11019
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a learning package for caregivers on developing emotional quotient of preschool children at child development centers under the Local Government Organizations in Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรุณี หรดาล
เกษร ปะลาวัน, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทัศนีย์ ชาติไทย
คำสำคัญ: ครูปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
ความฉลาดทางอารมณ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสตูล ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสตูล จำนวน 34 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) ชุดการเรียนรู้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เรื่อง การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสตูล มีประสิทธิภาพ 83.17/82.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 (2) ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ(3) ครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11019
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168399.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons