Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11036
Title: แนวทางการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Guidelines for hygienic readiness preparation for entering elderly age of people in Pathum Thani Province
Authors: ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรสวรรค์ วุฒิวงศ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: สุขภาวะ--ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ
ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--ปทุมธานี
คุณภาพชีวิต--แง่สุขภาพ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี และ 2) พัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีอายุระหว่าง 50-60 ปี จำนวน 399คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาและความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระยะที่ 2 พัฒนาแนวทาง ในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาตลอดชีวิต และด้านการทำงานกับผู้สูงอายุจำนวน 9 คน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมมีปัญหาระดับปานกลาง โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ปัญหาสุขภาวะด้านจิตใจ รองลงมา ได้แก่ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย และปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ปัญหาด้านร่างกาย ส่วนความต้องการด้านสุขภาวะ พบว่าในภาพรวม มีความต้องการระดับมาก โดยความต้องการด้านสุขภาวะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความต้องการด้านร่างกาย รองลงมา ได้แก่ ความต้องการด้านจิตใจ และความต้องการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ความต้องการด้านสติปัญญา และ 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาวะเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย การให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม การบริหารจัดการที่ดี การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คุณสมบัติของผู้จัดและทีมงานที่มีประสบการณ์ การจัดทำแผนงานประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุและชุมชนได้ทราบอย่างทั่วถึง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11036
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168403.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons