กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11041
ชื่อเรื่อง: การนำมาตรการกันตัวบุคคลเป็นพยานมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organic Act on counter Corruption B.E. 2561 : a study of the lmmunity from prosecution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
รัตนาภรณ์ โสภายนต์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: พยานบุคคล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดจากการนำมาตรการคุ้มครองพยานมาใช้บังคับและเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้า ตำรา สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาลข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารวิชาการทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหลายมาทำการศึกษาวิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการนำมาตรการกันตัวบุคคลเป็นพยานมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการใช้ดุลพินิจของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลหรือผู้ร่วมกระทำผิดมาเป็นพยาน ซึ่งสมควรที่จะให้สำนักงานอัยการมาเป็นองค์กรคู่ขนานในการกลั่นกรองดุลพินิจในการเลือกกันบุคคลหรือผู้ร่วมกระทำผิดคนใดมาเป็นพยาน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในกรณีผู้ที่ได้รับการคุ้มครองพยานกลับคำให้การหรือให้การเท็จ หรือไปเบิกความแต่ไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อคดี จึงสมควรที่จะกำหนดบทลงโทษสำหรับบุคคลนั้น ในความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรมในประมวลกฎหมายอาญาที่เสนอให้มีการเพิ่มเติมใหม่ ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่ช่วยให้การกันบุคคลไว้เป็นพยานในคดีของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11041
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons