กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1106
ชื่อเรื่อง: | ค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Family food consumption value influence to food consumption behavior of vocational education student in Patumtani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อำไพรัตน์ อักษรพรหม มาลินี เก่งงาน, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทัศนีย์ ชาติไทย |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ปทุมธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัว นักเรียนอาชีวศึกษา (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษาและ (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานีปีการศึกษา 2546 จํานวน 371คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวในด้านลักษณะการบริโภคอาหารของครอบครัวโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก ประเภทอาหารที่ครอบครัวนิยมบริโภคโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และความเชื่อในการบริโภคอาหารของครอบครัวโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก (3) ค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 (4) ค่านิยมการบริโภคอาหารของครอบครัวมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดปทุมธานี คิดเป็นร้อยละ 18.9 ได้แก่ ประเภทของอาหารที่ครอบครัวนิยมบริโภคลักษณะการบริโภคอาหารของครอบครัวและความเชื่อในการบริโภคอาหารของครอบครัวที่สามารถทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1106 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Hum-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext 83310.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 917.71 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License