Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11092
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Extension guidelines for dry-season maize production of farmers in Bang Rakam District of Phitsanulok Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มลธิชา ทาอาสา, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าวโพด--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (2) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรกร (3) สภาพและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งในพื้นที่ และได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วกับสำนักงานเกษตรอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกในปี 2560/2561 จำนวน 789 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 163 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 58.9 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.67 ปี สถานภาพสมรส และจบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.52 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งเฉลี่ย 12.31 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาปี 2560/2561 ปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งเฉลี่ย 1,010.23 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,350.47 บาทต่อไร่ โดยร้อยละ 19.48 เป็นต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ และร้อยละ 17.73 เป็นค่าปุ๋ยและค่าฮอร์โมน (2) เกษตรกรใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 4.73 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้เครื่องจักรในการปลูกและเก็บเกี่ยว (3) ในภาพรวมเกษตรกรได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรได้รับการส่งเสริมสูงสุดในด้านการสนับสนุนการผลิต และเกษตรกรต้องการการส่งเสริมในระดับมาก โดยเกษตรกรต้องการการส่งเสริมสูงสุดในด้านการสนับสนุนการผลิต (4) ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งด้านการสนับสนุนการผลิต และด้านประเด็นการส่งเสริมในระดับมาก โดยประเด็นที่มีปัญหาสูงสุดคือต้นทุนการผลิตสูง และในภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะด้านประเด็นการส่งเสริม วิธีการส่งเสริม และการสนับสนุนในระดับมาก โดยสูงสุดในประเด็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการให้ความรู้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตตามลำดับ (5) เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการระดับมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ การผสมปุ๋ยใช้เอง การใช้สารชีวภัณฑ์ และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามลำดับ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11092
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons