Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11109
Title: รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: An integrative group counseling model for developing spiritual intelligence of upper secondary students of Demonstration Schools in the North Eastern Region
Authors: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรี ฤกษ์จารี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรินทร์ จำปานนท์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: จิตบำบัดหมู่สำหรับเด็ก
ความฉลาดทางจิตวิญญาณ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ 3) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) องค์ประกอบของความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามี 5 องค์ประกอบคือด้านการตระหนักรู้ตนเองด้านความเป็นธรรมชาติด้านความเห็นอกเห็นใจด้านการรับรู้แบบองค์รวมและด้านการมีวิสัยทัศน์และการเห็นคุณค่าซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบนำมาบูรณาการกับเทคนิคจากทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา 5 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางทฤษฎีการปรึกษาแบบเกสตัลท์ทฤษฎีการปรึกษาแบบภวนิยมทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริงและทฤษฎีการปรึกษาแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพซึ่งรูปแบบประกอบด้วย 9 กิจกรรมแต่ละกิจกรรมมี 3 ขั้นตอนคือขั้นเริ่มต้นขั้นดำเนินการและขั้นยุติโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและ 3) การเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11109
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons