กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11114
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of local curriculum in the Supplementary Science Learning Area on the topic of Water Onion (Queen of the River) for Mathayom Suksa II students in Ratanarangsan School Cluster, Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ ราชิม, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) ผลการวิจัยพบว่า (1) หลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง ประกอบด้วยองค์ประกอบของหลักสูตร คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้เป็นหลักสูตร สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้ (2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง พลับพลึงธาร (ราชินีแห่งสายน้ำ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11114
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons