กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11117
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of problem-based learning management in the topic of life in environment on scientific problem solving ability and attitude toward science of Mathayom Suksa IV students of extra large schools in Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลจิรา ทนงศิลป์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและแบบปกติ เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม และ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและแบบปกติ เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 74 คน จาก2 ห้องเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มแล้วสุ่มให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง อีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11117
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons