กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11123
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอ่างศิลา จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using a guidance activities package to develop amicable behaviors of Mathayom Suksa II Students of Angsila School in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เจียรนัย ทรงชัยกุล เยาวณีย์ พานธุวงศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ กิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนมัธยมศึกษา--กิจกรรมการเรียนการสอน การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร ของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความเป็น กัลยาณมิตรและ กลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวอื่นๆ (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความเป็น กัลยาณมิตรของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน และ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรม ความเป็นกัลยาณมิตรของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีภูมิหลังทางชีวสังคมต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอ่างศิลา จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2553 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม แล้วสุ่มเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัดพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร มีค่าความ เที่ยง เท่ากับ .84 (2) แบบวัดการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .79 และ (3) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร จำนวน 11 กิจกรรม และ (4) กิจกรรมแนะแนวอื่นๆจำนวน 11 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรม ความเป็นกัลยาณมิตร มีพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตรสูงกว่านักเรียนที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนว อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู ของครอบครัวแบบรักสนับสนุนและแบบใช้เหตุผลมาก เมื่อได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา พฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร มีพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตรสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการ อบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวแบบรักสนับสนุนและแบบใช้เหตุผลน้อย และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มีเพศ ผลการเรียนเฉลี่ย และรายได้ของครอบครัวต่างกัน มีพฤติกรรมความเป็นกัลยาณมิตร ไม่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11123 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License