กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11133
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายสุขภาพเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to the performance of dental public health of Det Udom primary care network in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง ดวงฤทัย ไสยสมบัติ, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | ทันตสาธารณสุข--ไทย--อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายสุขภาพเดชอุดม (2) ประเมินปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การ (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การกับการดำเนินงานทันตสาธารณสุข และ (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายสุขภาพเดชอุดม ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านทันตสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายสุขภาพอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 218 คน โดยทำการวิจัยในทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคว์สแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานทันตสาธารณสุขโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) บุคลากรเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.4 ปี จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทำงานด้านทันตสาธารณสุขเฉลี่ย 7.4 ปี มีความรู้เรื่องการดำเนินงานทันตสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก มีระดับแรงจูงใจทั้งปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และการได้รับการสนับสนุนจากองค์การในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) คุณลักษณะส่วนบุคคลและความรู้เรื่องการดำเนินงานทันตสาธารณสุขไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ส่วนแรงจูงใจ ทั้งปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปัจจัยการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับมากทางบวกกับการดำเนินงานทันตสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในงานด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก กลุ่มอายุ 13-59 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานจึงไม่สะดวกมารับบริการในวันเวลาราชการ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังพบปัญหาสุขภาพที่มักมีโรคประจำตัวหลายโรค หรือมีภาวะแทรกซ้อน มีปัญหาในการเดินทางรวมถึงขาดพาหนะ/เชื้อเพลิงสนับสนุนในการลงพื้นที่เพื่อติดตาม โดยมีข้อเสนอแนะคือ โรงพยาบาลแม่ข่ายและสำนักงานสาธารณสุขควรจัดตั้งทีมสนับสนุนการปฏิบัติงานและให้คำปรึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น รวมทั้งควรจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทันตสาธารณสุขเพื่อบริหารจัดการและสนับสนุนทรัพยากรแก่หน่วยบริการปฐมภูมิได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11133 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License