กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11140
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองตามการรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparison study of the result of gold health-promoting schools as perceived by stakeholders at primary schools in Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา รำไพ หมั่นสระเกษ, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | โรงเรียน--บริการส่งเสริมสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองตามการรับรู้ของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ครู นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 5-6 และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่ได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 303 คน ที่ได้จากการสุ่มโรงเรียนแบบแบ่งชั้น และสุ่มนักเรียนอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ฉบับ แต่ละฉบับมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง 10 องค์ประกอบ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .90 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามสำหรับครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเท่ากับ .98 .98 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการทดสอบครัสคาลวาลลิสเอช ผลการวิจัยพบว่า (1) ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนรับรู้ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองโดยรวมและรายองค์ประกอบทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก (2) ครูรับรู้ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองโดยรวมสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนมีการรับรู้โดยรวมไม่แตกต่างจากครูและผู้ปกครองนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูรับรู้ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทององค์ประกอบที่ 5 และ 7 สูงกว่านักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แต่นักเรียนมีการรับรู้ไม่แตกต่างจากผู้ปกครองนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11140 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License