กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11146
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพงานแนะแนวระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a guidance quality assurance model for lower secondary school level of private schools under the Office of Nonthaburi Educational Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจียรนัย ทรงชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันตรี ตุลยธำรง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
การแนะแนวการศึกษา--ไทย--นนทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพงานแนะแนวระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2 การดำเนินการวิจัยโดย (1) กำหนดกรอบการศึกษาและสร้างเครื่องมือ (2) นำเครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังการประกันคุณภาพงานแนะแนว ไปสอบถามกับผู้บริหาร 10 คน ครูแนะแนว 30 คน และนักเรียน 390 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพงานแนะแนว และให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านรับรองรูปแบบฯ ผลการวิจัย พบว่า (1) ข้อมูลสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้บริหาร มาตรฐาน ด้านปัจจัย และมาตรฐานด้านกระบวนการ ระดับความคิดเห็นแปลผลระดับมากและมากที่สุด (X =3.68 : 4.86; X = 3.48 : 4.81) (2) ข้อมูลสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของครูแนะแนว มาตรฐานด้านปัจจัย และมาตรฐานด้านกระบวนการ ระดับความคิดเห็นแปลผลระดับมากและมาก ที่สุด ( =4.10 :4.80; X =3.95 : 4.72) (3) ข้อมูลสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้เรียน มาตรฐานด้านผู้เรียน ระดับความคิดเห็นแปลผลระดับมากและมาก (X =3.95 : 4.44) และ (4) ข้อมูลความคาดหวังของผู้ตอบแบบสอบถาม ระดับความคาดหวังมากกว่าสภาพที่เป็นจริง ทุกมาตรฐาน ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สู่แนวคิดกระบวนการ PDCA ของเดมมิ่งในการ ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพงานแนะแนว ได้รูปแบบเชิงระบบ ดังนี้ ตัวป้อน คือ มาตรฐานด้าน ปัจจัย กระบวนการ คือ มาตรฐานด้านกระบวนการ และผลลัพธ์ คือ มาตรฐานด้านผู้เรียน ซึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาให้ข้อเสนอแนะและรับรองรูปแบบฯ ว่าเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้กับ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2 ได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11146
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons