กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1114
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในเขตภาคใต้ตอนบนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องด้านสุขภาพระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions of sub-district public health personnel of the upper southern region about management model of higher education on bachelor and master of health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์
วัฒนา แป้นน้อย, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมโภช รติโอฬาร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย (ภาคใต้)
การศึกษาต่อเนื่อง--ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนื้มีวัตถประสงค์เพื่อ (1) จำแนกความต้องการในการศึกษาต่อเพื่องของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล (2) สำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในด้านวิธีการจัดการศึกษาเนื้อหาหลักสูตร สถาบันผู้จัดการศึกษาคุณสมบัติของผู้ศึกษาและวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จำนวน 337 คน ซึ่งที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งเป็นกลุ่ม จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีอนามัยต่างๆ ของจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ และนครศรีธรรมราช เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Chi Square และค่า Correlation ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลต้องการศึกษาต่อปริญญาโท ร้อยละ 46.6 ปริญญาตรีร้อยละ 24.6 (2) ผู้ต้องการศึกษาต่อเห็นด้วยกับวิธีจัดการศึกษาเรียงตามลำดับคือการศึกษาภาคพิเศษนอกเวลาราชการ/เสาร์ อาทิตย์ การศึกษาระบบทางไกล การศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติงานและการศึกษาภาคปกติ เห็นด้วยกับเนื้อหาหลักสูตรเรียงตามลำดับคือการบริการสุขภาพการบริหารจัดการการปฏิสัมพันธ์มนุษย์/มวลชนและวิชาการ เห็นด้วยกับสถาบันผู้จัดการศึกษาเรียงตามลำดับคือสถาบันในสังกัดกระทรวง สาธารณสุข มหาวิทยาลัยปิดภาครัฐ มหาวิทยาลัยเปิดภาครัฐ และสถาบันการศึกษาเอกชน เห็นด้วยกับคุณสมบัติของผู้ศึกษาเรียงตามลำดับคือวุฒิการศึกษาเดิมประสบการณ์ทำงานตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ผลการศึกษาเดิม ความรู้ภาษาอังกฤษ และความสามารถพิเศษ เห็นด้วยกับวิธีคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา เรียงตามลำดับคือ การพิจารณาตามความต้องการของหน่วยงาน การสอบข้อเขียน การพิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน การสอบสัมภาษณ์ และการพิจารณาจากผลการศึกษาเดิม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1114
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86017.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons