กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11169
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using graphic mapping on analytical thinking ability and attitude toward Thai language reading of Mathayom Suksa III students in schools under Khon Kaen Provincial Administration Organization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรารัตน์ ศรีบุดดา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ภาษาไทย--การอ่าน
ภาษาไทย--การอ่าน--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ผังกราฟิก และ(2) ศึกษาเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ปี 3 หลังการเรียนโดยใช้ผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ (3) แบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยโดยใช้ผังกราฟิก สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนมีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยหลังเรียนอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11169
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltest.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons