กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11180
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสังกัดในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting analytical thinking in science of Prathom Suksa V students of Schools under Chumphon Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีรวรรณ สุขหลังสวน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ชุมพร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ และการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) สร้างสมการทำนายการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์จากตัวแปรเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 138 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัด จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวก ต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) สมการทำนายการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11180
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons