กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11183
ชื่อเรื่อง: | ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์วิชางานจักรยานยนต์ เรื่อง ระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Experience-Based instructional packages in the Motor cycle work course on the topic of motor cycle electrical system for mechanical program vocational certificate students of Nakhon Sawan Industrial and community Education College |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วาสนา ทวีกุลทรัพย์ แทน โมราราย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชัยยงค์ พรหมวงศ์ บุญเลิศ ส่องสว่าง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์ การสอนด้วยสื่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ วิชางาน จักรยานยนต์ เรื่องระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัยอาชีพนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเครื่องกล วิทยาลัย อาชีพนครสวรรค์ ที่เรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2552 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ วิชา งานจักรยานยนต์ เรื่อง ระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ จำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 10 การ บริการระบบสตาร์ทไฟฟ้า หน่วยประสบการณ์ที่ 11 การบริการระบบไฟชาร์จและไฟแสงสว่าง และหน่วยประสบการณ์ที่ 12 การบริการระบบไฟสัญญาณ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญ ประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับชุดการสอน แบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ E,/E, การ ทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์มีประสิทธิภาพ 81.00/82.00 81.50/82.50 และ81.00/82.50 ตามลำดับ เป็นไปตาม เกณฑ์ 80/80 (2) นักศึกษาที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดการ สอนแบบอิงประสบการณ์ในระดับเห็นด้วยมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11183 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License