กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11190
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง ลมฟ้าอากาศและการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of inquiry learning management (5Es) emphasizing provision of scientific explanation on science learning achievement in the topic of weather and scientific explanation creation of Matthayom Suksa I students at Nawamintrachinuthit Suan Kularb Wittayalai Pathum Thani School in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทรสุดา หาดขุนทด, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ปทุมธานี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง ลมฟ้าอากาศหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์กับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ (2) เปรียบเทียบการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์กับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ และ (3) เปรียบเทียบการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 88 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับสลากให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น โดยเน้นการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (2.1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลมฟ้าอากาศ (2.2) แบบวัดการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ (2.3) แบบบันทึกการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ และ (2.4) บันทึกหลังสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทคสอบค่าที่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง ลมฟ้าอากาศหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) การสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) การสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11190
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons