กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11197
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between school administrator's academic administration roles and quality of students in secondary schools in Nakhon Nayok Educational Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์
อัญชลี อินทร์เรือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทัสนี วงศ์ยืน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
โรงเรียน--การบริหาร
การบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษา
คุณภาพทางวิชาการ
การบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก (2) ศึกษาระดับคุณภาพนักเรียนจาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา ด้านผู้เรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่ การศึกษานครนายก และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารกับระดับคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 301 คน จาก 43 โรงเรียน โรงเรียนละ 7 คน ซึ่งจำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่าย วิชาการ หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และอีก 1 คน คือ ครู ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่า ความเที่ยง .98 และแบบสำรวจผลการประเมินคุณภาพนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับคุณภาพนักเรียนจากผลการประเมิน คุณภาพภายนอกของสถานศึกษา ด้านผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก อยู่ในระดับดี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับระดับ คุณภาพนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11197
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons