Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11202
Title: การพัฒนามาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด
Other Titles: The development of standards of educational research network at the provincial level
Authors: สุพักตร์ พิบูลย์
สุภาณี บำรุงเวช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมคิด พรมจุ้ย
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การศึกษา--วิจัย--ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนามาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา ระดับจังหวัด และ (2) ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระคับจังหวัดที่ พัฒนาขึ้น ประสบการณ์ด้านเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบแนวทางการดำเนินงานของ เครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด (2) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เป็นผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ เครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของมาตรฐานเครือข่ายวิจัย ทางการศึกษาระดับจังหวัด และ (3) กลุ่มผู้บริหารเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด มีผลงาน ดี กับ ทั่วไปจำนวน12 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานของเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา ระดับจังหวัดในขั้นของการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามประเภทมาตร ประมาณค่า และ แบบประเมินการดำเนินงานของเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย ผลการวิจัย พบว่า มาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด ประกอบด้วย 3 มิติ คุณภาพ คือ (1) มิติปัจจัยนำเข้า จำแนกเป็น 4 องค์ประกอบ 19 ตัวชี้วัด (2) มิติกระบวนการ จำแนกเป็น 4 องค์ประกอบ 28 ตัวชี้วัด และ (3) มิติผลผลิตหรือผลลัพธ์ จำแนกเป็น 2 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด ผล การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัดที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความตรง ตามโครงสร้าง กล่าวคือ สามารถจำแนกคุณภาพเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัดกลุ่มรู้ชัด โดยปรากฏคะแนนผลการประเมินในกลุ่มจังหวัดที่มีผลงานดี สูงกว่า กลุ่มจังหวัดทั่วไป อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11202
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons