กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11207
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้สูงอายุกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหลักกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social relations of the elderly with main concerned parties on self-care behaviors of hypertension in Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม
สมโภช รติโอฬาร
ปฏิภาส สาแช, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ--ไทย--เพชรบุรี--ภาวะสังคม
ความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยภายในบุคคลด้านชีวภาพและด้านจิตสังคมของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง (2) ปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคมครอบคลุมมิติการได้รับการสนับสนุนทางสังคมกับการบูรณาการทางสังคมระหว่างผู้สูงอายุดังกล่าวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหลัก (3) พฤติกรรมของผู้สูงอายุดังกล่าวในการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคความดันโลหิตสูง และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองต่อโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้รับการสุ่มจากประชากรผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดเพชรบุรี โดยวิธีแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 377 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบียงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรวมด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยรวมทุกมิติความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหลักในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ได้แก่ บุคคลในครอบครัวเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และพบว่าปัจจัยภายในบุคคลด้านชีวภาพของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วย และระดับความดันโลหิต แต่ไม่พบว่าปัจจัยภายในบุคคลด้านจิตสังคมปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหลักทุกกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง โดยความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลในครอบครัวมีค่าความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด ตามด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11207
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons