Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11226
Title: การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม จังหวัดตาก
Other Titles: The use of STEM education activities to develop integrated science process skills and scientific mind for Mathayom Suksa III students at Maepa Witthayakhom School in Tak Province
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทร์จิรา อยู่ยา, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ตาก
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษา 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษากับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษากับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคมอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 23 คน รวมทั้งสิ้น 46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ผลการวิจัยมี ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษามีจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษาและกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีจิตวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11226
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons