Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11243
Title: | แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก |
Other Titles: | Guidelines for learning management of small-sized school administrators under Nakhon Nayok Primary Educational Service Area Office |
Authors: | ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา อรวรรณ ชื่นจิต, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | การบริหารการศึกษา--กิจกรรมการเรียนการสอน การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก และ (3) ศึกษาแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพที่เป็นจริงในการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีความต้องการเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศการสอน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การกำกับ ติดตาม การประเมินผลการเรียนรู้ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการพัฒนาครูผู้สอนตามลำดับ และ (3) แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ผู้บริหารควร (3.1) บริหารจัดการให้มีสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนอย่างเพียงพอและเหมาะสม (3.2) มีความตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร ร่วมพาครูทำในแต่ละขั้นของการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาการนิเทศการเรียนการสอนในสถานศึกษาขนาดเล็กให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง โดยมีรูปแบบกัลยาณมิตร และ (3.3) ขับเคลื่อนและส่งเสริมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้กับครูเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11243 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License