กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11293
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the participation of farmers in the operation of Agricultural Learning Center in Uthai Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูธีร์รันทร์ ขันสัมฤทธิ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)--การมีส่วนร่วมของประชาชน
สินค้าเกษตร--ไทย--อุดรธานี--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) (2) ความรู้ การรับข้อมูลข่าวสาร และความคาดหวังจากการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของ ศพก. (3) การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงาน ศพก.(4) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงาน ศพก. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมใน ศพก. จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 240 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 150 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ ไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 52.7 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.89 ปี ร้อยละ 34.7 จบประถมศึกษามีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 22.96 ปี มีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 31.93 ไร่ มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 173,329.33 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 73,019.82 บาทต่อปี มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.33 คน ได้รับการอบรมจากศพก. เฉลี่ย 4.21 ครั้งปี (2) เกษตรกรร้อยละ 50.0 มีความรู้เกี่ยวกับศพก. และการดำเนินกิจกรรมของศพก. ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.3 รับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐ เฉลี่ย 5.21 ครั้งปี เกษตรกรเห็นว่าข่าวสารที่ได้รับจากศพก. มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเนื้อหามีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.06) เกษตรกรมีความคาดหวังจากการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.68) (3) เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ ศพก. ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.79) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของ ศพก. พบว่า สถานภาพทางสังคม จำนวนครั้งที่เข้ารับการอบรม และความถี่ในการรับข่าวสารมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ ศพก. ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.30) โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.81)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11293
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_162035.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons