Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11296
Title: | แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ |
Other Titles: | A guideline for promoting participation of networks for organizing non-formal and informal education in Chaiyaphum Province |
Authors: | สุมาลี สังข์ศรี สุดารัตน์ เผ่ามงคล, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล |
Keywords: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย--ชัยภูมิ การศึกษาตามอัธยาศัย--ไทย--ชัยภูมิ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู กศน. และบุคลากรภาคีเครือข่าย ต่อแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ และ (3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 16 คน และ ครู กศน. จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง บุคลากรภาคีเครือข่าย จำนวน 490 คนในจังหวัดชัยภูมิ โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สำหรับแต่ละกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยจัดทำร่างแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเสนอในการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน แล้วนำผลมาปรับปรุงแนวทางให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ผู้บริหาร ครู กศน. และบุคลากรภาคีเครือข่ายได้เสนอความคิดเห็นต่อแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหลายประการ เช่น ควรประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทุกรูปแบบ และ (3) แนวทางส่งสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (3.1) ด้านการวางแผนจัดการศึกษา ควรมีการกำหนดแผนพัฒนาการจัดการศึกษา (3.2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง (3.3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรให้คนในชุมชนเข้าร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานทุกกิจกรรม/โครงการ (3.4) ด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ควรให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศ และระดมทุน และ (3.5) ด้านการติดตาม ประเมินผล ควรเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11296 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161784.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License