กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11307
ชื่อเรื่อง: | การจัดองค์การศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อให้บริการด้านเอชไอวีในกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองของภาคประชาสังคม : กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organization of community health center to provide HIV services for men who have sex with men and transgender women by the civil society : a case study of Rainbow Health Center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง ระพีพันธ์ จอมมะเริง, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | ศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้ง เอชไอวี (ไวรัส) การจัดองค์การ ศูนย์สุขภาพชุมชน--การบริหาร การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิธีการจัดองค์ การและโครงสร้างของศูนย์สุขภาพชุมชนใน การให้บริการด้านเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองของภาคประชาสังคม (2) ศึกษาฐานคติในการจัดตั้งและการเข้าร่วมงานศูนย์ สุขภาพชุมชนในการให้ บริการด้านเอชไอวีในกลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองของภาคประชาสังคม และ (3) เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อให้ ตอบสนองต่อรูปแบบและแนวทางวิธีการจัดองค์การและโครงสร้างของศูนย์สุขภาพชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการด้านเอชไอวีในภาพรวมของประเทศ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อตอบคําถามวิจัยหลั ก 3 ข้อคือ 1) วิธีการจัดองค์การและโครงสร้างของศูนย์สุขภาพในฐานะที่เป็นองค์การภาคประชาสังคมเป็นอย่างไร 2) ฐานคติในการจัดตั้งศูนย์ สุขภาพชุมชนแห่งนี้มีลักษณะเช่นใด และ 3) มีข้อเสนอแนะทางนโยบายอะไรเพื่อให้ตอบสนองต่อรูปแบบและ แนวทางการจัดองค์การและโครงสร้างของศูนย์ สุขภาพชุมชนให้มีประสิทธิผลวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักในศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้งรามคำแหง จำนวน 9 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์แบบเชิงประเด็น เครื่องมือที่ใช้คือแนวคำถามสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งมีการทดสอบคุณภาพ ในเรื่องความเที่ยงและความตรงโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน จาการศึกษา พบว่า (1) วิธีการจัดองค์การและโครงสร้างของศูนย์ สุขภาพชุมชนในกรณีของศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้งสามารถวิเคราะห์ออกมาเป็น 5 มิติคือ ด้านวัตถุประสงค์์ ซึ่งในด้านวัตถุประสงค์ มีความชัดเจนคือ เพื่อการเข้าถึงบริการในกลุ่มประชากรชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง ด้านโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักรหรือองค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกลที่มีลักษณะงานเป็นกิจวัตร มีกฎระเบียบที่เป็นทางการมีอํานาจการบังคับบัญชาด้านบุคลากรมีทั้งที่บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพทางด้านการแพทย์ และบุคลากรที่มาจากชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ด้านข้อมูลมีทั้้งข้อมูลที่จัดทําเองและตามความต้องการของแหล่งทุน และด้านเทคนิคมี 3 ประการคือ ด้านวิชาการที่สนับสนุนโดยสภากาชาดไทย ด้านมาตรฐานที่กําหนด โดยกระทรวงสาธารณสุข และด้านการบริหารที่กำหนดโดยภาคประชาสังคมด้วยกัน (2) ฐานคติของการจัดตั้งศูนย์เป็นไปเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการดําเนินงานตามตัวแบบเข้าถึง-ชักชวน-ตรวจ-รักษา-ป้องกัน-ต่อเนื่องที่เป็นมิตรกับกลุ่มเป้าหมายที่สุด และ (3) ในส่วนของข้อเสนอแนะทางนโยบายยังคงต้องมีการหาความสมดุลระหว่างกลไกปกติที่ผู้ ให้บริการเป็นบุคลากรวิชาชีพและการส่งเสริมให้บุคลากรจากพื้นที่ในชุมชนสามารถจัดบริการด้านเอชไอวีได้ด้วยตนเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11307 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License