กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11312
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับบทบาทของทนายความในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem relating to the role of attorney-at-law in protection of the alleged offender's right in the inquiry official stage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ
ศราวุธ ไชยภักดี, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ต้องหา--การคุ้มครอง
ทนายความ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาทของทนายความ และการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของทนายความ ในชั้นพนักงานสอบสวนของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับบทบาทของทนายความ ในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน และ (4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ กฎหมาย บทความวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการ อื่น ๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของทนายความและการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของทนายความในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ในชั้นสอบสวน ได้แก่ หลักอาวุธเท่าเทียมกัน โดยผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับคดีจากทนายความ ก่อนการให้ปากคำ และมีสิทธิให้ทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วย (2) ประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมาย กำหนดบทบาทของทนายความในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนนั้น (3) ซึ่งมีปัญหาบางประการ คือ 1) ในกรณีเร่งด่วน ที่ทนายความไม่อาจมาพบผู้ต้องหาได้ พนักงานสอบสวนมีสิทธิสอบสวนผู้ต้องหา ไปโดยไม่ต้องรอทนายความ ซึ่งผู้ต้องหาอาจถูกละเมิดสิทธิต่าง ๆ ในกระบวนการสอบสวนได้ 2) ในกรณีที่ พนักงานสอบสวนได้พยายามหาทนายความแก่ผู้ต้องหาแล้ว แต่ไม่สามารถหาทนายความได้ และได้ดำเนินการ สอบสวนผู้ต้องหา คำให้การดังกล่าวนั้นจะถือว่าเสียไปทั้งหมดหรือไม่ 3) กรณีที่พนักงานสอบสวนเข้าร่วมฟัง การสอบสวนด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติขอบเขตของบทบาทของทนายความ ในการเข้าฟังการสอบสวนว่ามีสิทธิที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องหาได้มากน้อยเพียงใด (4) จึงเสนอแนะแนว ทางการแก้ไขคือ 1) ให้นิยามความหมายของกรณีจำเป็นเร่งด่วนหมายถึง กรณีที่การสอบสวนนั้นสามารถนำไปสู่ ข้อมูลสำคัญบางประการ เช่น ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่การช่วยเหลือบุคคลที่คาดหมายว่าตกอยู่ในอันตราย อันถึงแก่ชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสได้ 2) เสนอให้มีการแก้ไขอัตราเงินรางวัลทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ผู้ต้องหา ในคดีอาญาเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทนายความอันเป็นปัจจัยสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ในการมีทนายความในชั้นสอบสวน 3) ก่อนสอบปากคำทนายความมีสิทธิให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องหาถึงแนวทาง การให้ปากคำแก่พนักงานสอบสวน และหากเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยก็มีสิทธิทักท้วงแต่หากพนักงานสอบสวน เห็นว่า ในเรื่องที่ทนายความทักท้วงนั้น จงใจขัดขวางการสอบปากคำมิอาจดำเนินการต่อไปได้ พนักงานสอบสวน มีอำนาจห้ามมิให้ทนายความผู้นั้นเข้าร่วมฟังการสอบสวนได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11312
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons