กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11322
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the adoption of technology for increasing efficiency and reduce the cost of Longan production by farmers in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมสัน สุวรรณเลิศ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ลำไย--เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
การควบคุมต้นทุนการผลิต
ลำไย--การควบคุมต้นทุนการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทั่วไป สภาพสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการส่งเสริมการผลิตลำไยของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนผลิตลำไยของเกษตรกร (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกรและ (5) ปัญหา ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 76.9 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 58.44 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.75 คน ประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 18.31 ปี มีการเข้ารับการอบรมด้านการเกษตร เฉลี่ย 3.70 ครั้งต่อปี 2) เกษตรกรร้อยละ 45.2 มีความรู้อยู่ในระดับมาก โดยแหล่งที่ได้รับความรู้มากจากสื่อกลุ่มและมีความคิดเห็นว่าเทคโนโลยีการผลิตลำไยช่วยให้มีผลผลิตปริมาณมากขึ้น เกษตรกรมีความต้องการด้านความรู้มากที่สุด 3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยในระดับมากทั้ง 5 ประเด็น และมีการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีระดับปานกลาง 4) การเข้ารับการอบรมทางด้านการเกษตรของเกษตรกรจำนวนแรงงานในการผลิตลำไยความรู้ในการผลิตลำไยของเกษตรกรและแหล่งความรู้ในการผลิตลำไยของเกษตรกร มีความเกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลำไยของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาดในเรื่องราคาผลผลิตไม่เป็นธรรม การขนส่งมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องการให้มีหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบความเป็นธรรมด้านราคามากที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมคือควรมีการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบราคาผลผลิตรวมทั้งสนับสนุนการจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบหรือช่องทางอื่นๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11322
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons