กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11327
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ในอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operations of rice collaborative farm community enterprises in Sida district of Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์
เบญญาภา ทวีทรัพย์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นาลัน แป้นปลื้ม
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจชองสมาชิกวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ 2) การผลิตข้าวของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) การบริหารการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจับพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 57.33 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย4.02คน ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 29.72 ปี จำนวนแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.37 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 23.46 ไร่ รายได้ของครัวเรือนทั้งหมดเฉลี่ย 196,916.67 บาท/ปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 131,516 บาท/ปี ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 53,540 บาท/ปี และผลผลิตข้าวเฉลี่ย 561.60 กิโลกรัม/ไร่ 2) การผลิตข้าวของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน พบว่า สภาพพื้นที่ปลูกข้าวเป็นที่ลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านแห้งโดยใช้เมล็ดพันธุ์ 25 กิโลกรัม/ไร่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้น้ำฝนโดยมีการรักษาระดับน้ำตลอดฤดูการผลิต ส่วนใหญ่ไม่มีการกำจัดวัชพืชการเก็บเกี่ยวข้าวใช้รถเกี่ยวนวดข้าว แล้วนำผลผลิตทั้งหมดไปตากแดดเพื่อลดความชื้น 3) การบริหารการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติประจำ ได้แก่ การบริหารกลุ่ม การจัดการวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ส่วนประเด็นที่ไม่ปฏิบัติ คือ การจัดการเกี่ยวกับการตลาด 4) ปัญหาในภาพรวม พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่มีปัญหาระดับน้อยทุกประเด็น ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม กระบวนการผลิต การตลาด และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีข้อเสนอแนวทางว่า วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างเข้มแข็งทั้งทางด้านการผลิตและตลาดข้าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11327
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons