Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11348
Title: | การนำมาตรการต่อรองคำรับสารภาพมาใช้ในประเทศไทยศึกษากรณีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด |
Other Titles: | Application of plea bargaining in Thailand: Case study of child and juvenile offenders in illegal narcotics issues |
Authors: | ธีรเดช มโนลีหกุล ปิยธิดา ผาจวง, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | การต่อรองคำรับสารภาพ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี และ หลักการต่อรองคำรับสารภาพ 2) ศึกษาถึงการนำมาใช้ในต่างประเทศ นำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยถึงความเป็นไปได้หรือแนวทางที่เหมาะสมหากมีการนำมาตรการต่อรอง คำรับสารภาพมาใช้ รวมไปถึง 3) ศึกษาในกรณีการนำมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร จากกฎหมาย ตำราวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย โดยศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศ คำพิพากษาศาลฎีกา รวมถึงข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) การต่อรองคำรับสารภาพถูกมาใช้อย่างแพร่หลายใน สหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ปัญหาการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 2) แต่เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ของไทยซึ่งแตกต่างไป จากสหรัฐอเมริกา จึงไม่อาจนำเอาวิธีการต่อรองคำรับสารภาพตามแนวความคิดของสหรัฐอเมริกามาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยได้ทั้งหมด แต่ควรปรับให้เข้ากับระบบกฎหมายของประเทศไทย สภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยอาจนำมาใช้ในชั้นพนักงานอัยการ เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะวิธีการต่อรองคำรับสารภาพนี้สามารถช่วยในการย่นระยะเวลาการดำเนินคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัจจุบันพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้มีมาตรการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการในชั้นก่อนฟ้องคดี ได้มีมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาซึ่ง มีเจตนารมเบี่ยงเบนคดีของเด็กและเยาวชนที่รู้สึกสำนึกในการกระทำออกจากกระบวนพิจารณา ของศาล ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาถึงการนำมาตรการต่อรองคำรับสารภาพมาใช้ในกรณี การกระทำความผิดต่อรัฐ ประกอบกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นมาตรการในชั้นก่อน ฟ้องคดีเพื่อหันเหเด็กที่กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก โดยศึกษาถึงการ นำมาใช้ให้เหมาะสมและเกิดความชอบธรรมในกระบวนการของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งยังช่วยให้เด็กและ เยาวชนซึ่งกระทำความผิดนั้นสามารถได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงที่และกลับคืนสู่สังคมได้ต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11348 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fullext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License