กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11362
ชื่อเรื่อง: การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับผู้ที่ศาลพิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Use of electronic devices on persons, whose imprisonment is adjudged by the courts to be substituted with detention
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
มีนา เพ็งชัย, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การกักขังผู้กระทำผิด
มาตรการแทนการจำคุก
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับผู้ที่ศาลพิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง (2) ศึกษาหลักกฎหมายของประเทศไทย หลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร (3) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับผู้ที่ศาลพิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับผู้ที่ศาลพิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังให้เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร ทำการศึกษาจากตำรา หนังสือ วารสาร บทความทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) กรณีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง โดยเฉพาะการกักขังผู้กระทำความผิดไว้ในที่อาศัย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 24 ยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย แม้กฎหมายจะกำหนดสถานที่กักขังที่ไม่ใช่เรือนจำและให้กักขังไว้ในที่อาศัยได้ก็ตาม แต่เมื่อคดีถึงที่สุดยังปรากฏว่ามีการนำผู้กระทำความผิดไปกักขังไว้ที่เรือนจำเนื่องจากสถานที่กักขังทั่วประเทศ มีเพียง 5 แห่งเท่านั้น (2) ประเทศไทยไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดให้สามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้ต้องโทษกักขังในที่อาศัยได้ คงมีเฉพาะการนำมาใช้ในการปล่อยชั่วคราว การคุมความประพฤติ และการพักการลงโทษ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรต่างก็มีบทบัญญัติของกฎหมายให้สามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการกักขังในที่อาศัยได้ รวมถึงมีการกำหนดขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน (3) การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้ต้องโทษกักขังในที่อาศัย พบว่า มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ต้องโทษกักขัง สังคม และระบบราชการ เนื่องจากทำให้สามารถควบคุมติดตามผู้ต้องโทษกักขังได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลให้ผู้ต้องโทษกักขังเกิดความเกรงกลัว และไม่กล้าฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดไว้ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 24 เพื่อให้สามารถนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้ต้องโทษกักขังในที่อาศัย อันจะทำให้การควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11362
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168404.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons