กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11377
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้และระดับความไว้วางใจที่มีต่อสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ ของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Awareness and level of trust of healthcare personnel at hospitals in Bangkok in the "Healthier Choice" nutrition label |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิทยาธร ท่อแก้ว วิมลจันทร์ วุฒิคงสมบัติ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การสื่อสารทางการแพทย์--ไทย โภชนาการ--แง่สัญลักษณ์ การศึกษาอิสระ--นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง "การรับรู้และระดับความไว้วางใจที่มีต่อสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) การรับรู้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ 2) ระดับความไว้วางใจสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ 3) ความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และ ข้อมูลด้านสุขภาพที่มีผลต่อการรับรู้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ และ 4) ความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรค้านเพศ อายุ ระดับ การศึกษา และข้อมูลด้านสุขภาพที่มีผลต่อระดับความไว้วางใจสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการแพทข์ของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิตเชิงอนุมาน โดยใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของกระทรวงสาธารณสุข สสส. และมีการรับรู้และความไว้วางใจในสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพในภาพรวมระดับมาก โดยมีการรับรู้ในระดับมากในประเด็นย่อย ประกอบด้วย (1) รูปตราสัญลักษณ์ (2) การรับรองการผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านปริมาณน้ำตาล (3) การรับรองการผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านปริมาณไขมัน (4) การรับรองการผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านปริมาณโซเดียม (5) การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล (6) การช่วยให้ผู้บริโภคใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้ออาหาร (7) การช่วยให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (8) ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และ (9) การแสดงในอาหารที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนด้านความไว้วางใจในระดับมากในประเด็นย่อย ประกอบด้วย (1) อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม (2) อาหารที่มีความปลอดภัย (3) อาหารที่ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (4) ผู้ผลิตอาหารมีความรับผิดชอบต่อสังคม (5) อาหารที่มีความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป (6) อาหารได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ 2) เพศและการตรวจสุขภาพประจำปีที่แตกต่างกันมีการรับรู้ในสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) เพศ ระดับการศึกษา และการตรวจสุขภาพประจำปีที่แตกต่างกันมีความไว้วางใจที่แตกต่างกันที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และ 4)การรับรู้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความไว้วางใจในสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพในระดับปานกลางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11377 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168413.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License