Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1137
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา
Other Titles: Factors related to self and social responsibility of vocational students
Authors: วรรณภา โพธิ์น้อย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจิตรา หังสพฤกษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ พรหมประกอบ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
นักศึกษาอาชีวศึกษา
ความรับผิดชอบต่อสังคม
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยทาง สังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา 2) ศึกษาความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยทางสังคมกับความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาอาชีวศึกษาสังกัดคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร จํานวน 374 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชายร้อยละ 54.28 เป็นบุตรลําดับที่ 1 ร้อยละ 44.11 ศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 26.20 มีผลการเรียนระหว่าง 2.01–3.00 ร้อยละ 58.82 ลักษณะครอบครัวพบว่า มาจากครอบครัวเดี่ยวร้อยละ 93.90 มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 50.33 มีการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยร้อยละ 83.69 กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า บิดา มารดามีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวในระดับมาก ร้อยละ 76.21และ 64.18 ตามลําดับ และมี ความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.74 สถานศึกษาครูอาจารย์และศาสนามีส่วนปลูกฝัง ความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษามากร้อยละ 58.29 59.95 และ 67.10 ตามลําดับ และมีส่วนปลูกฝัง ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษามากเช่นกัน ร้อยละ 53.74 58.56 และ 52.94 ตามลําดับ จากการศึกษา เกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ( = 3.23 และ 3.31 ตามลําดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ผลการเรียน การอบรมเลี้ยงดู การปฏิบัติตนของบิดามารดาเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม เพื่อน และสื่อมวลชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบ ต่อสังคมของนักศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ การอบรมเลี้ยงดูการปฏิบัติตนของบิดา มารดาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม ครูอาจารย์ เพื่อน ศาสนา และสื่อมวลชน
Description: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1137
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext 83667.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons