กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1137
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to self and social responsibility of vocational students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณภา โพธิ์น้อย
สุนันท์ พรหมประกอบ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุจิตรา หังสพฤกษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์--วิทยานิพนธ์
นักศึกษาอาชีวศึกษา
ความรับผิดชอบต่อสังคม
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยทางสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา 2) ศึกษาความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษา 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยทางสังคมกับความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาอาชีวศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร จํานวน 374 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชายร้อยละ 54.28 เป็นบุตรลําดับที่ 1 ร้อยละ 44.11 ศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 26.20 มีผลการเรียนระหว่าง 2.01–3.00 ร้อยละ 58.82 ลักษณะครอบครัวพบว่า มาจากครอบครัวเดี่ยวร้อยละ 93.90 มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 50.33 มีการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยร้อยละ 83.69 กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า บิดามารดามีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวในระดับมาก ร้อยละ 76.21และ 64.18 ตามลําดับ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.74 สถานศึกษาครูอาจารย์และศาสนามีส่วนปลูกฝังความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษามากร้อยละ 58.29 59.95 และ 67.10 ตามลําดับ และมีส่วนปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษามากเช่นกัน ร้อยละ 53.74 58.56 และ 52.94 ตามลําดับ จากการศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบของนักศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.23 และ 3.31 ตามลําดับ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ผลการเรียน การอบรมเลี้ยงดู การปฏิบัติตนของบิดามารดาเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม เพื่อน และสื่อมวลชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ การอบรมเลี้ยงดูการปฏิบัติตนของบิดามารดาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม ครูอาจารย์ เพื่อน ศาสนา และสื่อมวลชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1137
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 83667.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons