กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11389
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดบทลงโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems of Punishment of Officers under the Public Procurement and Supplies Administration Act |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อิงครัต ดลเจิม เมธานีย์ ผิวหลง, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การลงโทษ พนักงานเจ้าหน้าที่ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษทางอาญาตามมาตรฐานสากล กฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย (3) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดบทลงโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกำหนดบทลงโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลจากบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย หนังสือวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร เอกสารต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษา พบว่า (1) ตามแนวคิดทฤษฎีการกำหนดโทษทางอาญา มีหลักการพื้นฐานว่าการลงโทษทางอาญาต้องไม่ก่อให้เกิดภาระแก่การดำเนินกระบวนการยุติธรรมจนเกินขอบเขต และมาตรการลงโทษทางอาญาต้องใช้กับกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่าการลงโทษทางอาญาเท่านั้น (2) ตามกฎหมายไทยมีการกำหนดบทลงโทษของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตไว้ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นบททั่วไป และยังกำหนดบทลงโทษไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อันเป็นบทเฉพาะอีกด้วย ต่างกับกฎหมายต่างประเทศที่กำหนดบทลงโทษกรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้นำความผิดดังกล่าวมาบัญญัติซ้ำในบทกฎหมายเฉพาะฉบับอื่น ๆ (3) การกำหนดโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีลักษณะเป็นการกำหนดความผิดทางอาญามากเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดสภาวการณ์กฎหมายอาญาเฟ้อ (4) เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดบทลงโทษของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ในมาตรา 120 โดยยกเลิกโทษอาญาและเห็นสมควรให้ใช้โทษปรับทางปกครอง และแนวคิดค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้แทน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11389 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168804.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License