กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11405
ชื่อเรื่อง: รหัสภาษากายของภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณี สมัยรัชกาลที่ 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Body language code of Dasaparami in Thai traditional mural painting of the Reign King Rama 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันทัด ทองรินทร์
สำราญ แสงเดือนฉาย, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปัณฉัตร หมอยาดี
กฤษณ์ ทองเลิศ
คำสำคัญ: ภาษาท่าทาง
จิตรกรรมฝาผนังไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางสังคมที่ปรากฏบนภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 (2) รหัสภาษากายที่ปรากฏบนเรือนร่างตัวละครของภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมกับรหัสภาษากายที่ปรากฏบนเรือนร่างตัวละครของภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบททางสังคมที่ปรากฏบนภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 คือ การปกครองแบ่งโครงสร้างทางชนชั้นประกอบด้วยระดับมูลนายกับสามัญชน มีการรวบรวมไพร่พลมาเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูบ้านเมือง การค้ามีการเปลี่ยนแปลงแบบยังชีพไปสู่การค้าแบบเงินตรา โดยมีรากฐานสำคัญมาจากการส่งสินค้าไปขายทางเรือสำเภากับต่างประเทศศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแผ่ทำให้เกิดการวางรากฐานการเปิดรับวิทยาการและความรู้ใหม่ๆ จากชาติตะวันตก โดยแยกความรู้ทางโลกกับทางธรรมออกจากกัน การศึกษาเล่าเรียนเป็นไปตามอัธยาศัยไม่มีการบังคับโดยมีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลาง ด้านกฎหมายมีการพิมพ์ใบประกาศห้ามสูบฝื่นและค้าฝื่นเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ และการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมีความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกับชาวต่างชาติรวมถึงเคารพต่อคติความเชื่อของกันและกัน (2) รหัสภาษากายที่ปรากฏบนเรือนร่างตัวละครของภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ รหัสภาษากายตามแนวจิตรกรรมไทย รหัสภาษากายในเชิงสัญลักษณ์ รหัสภาษากายในเชิงคุณค่า รหัสภาษากายเชิงตำแหน่งและทิศทาง รหัสภาษากายเชิงศูนย์กลางของภาพ และรหัสภาษากายเชิงการเล่าเรื่อง การเลือกสรรเหตุการณ์และวิธีการสื่อความหมาย และ (3) บริบททางสังคมมีความสัมพันธ์กับการกำหนดรหัสภาษากายที่ปรากฏบนเรือนร่างตัวละครของภาพทศบารมีในงานจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่โลกทัศน์เป็นตัวกำหนดชีวทัศน์ องค์ประกอบภาพเป็นรหัสเชิงซ้อนกำหนดรหัสภาษากิริยาท่าทางวรรณกรรมกำหนดรหัสความหมายของสีกาย ความมั่งคั่งของราชสำนักกำหนดรหัสอาภรณ์และเครื่องประดับ และทิศทางการใช้สายตาบ่งบอกถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11405
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156509.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons