กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1141
ชื่อเรื่อง: ความคาดหวังของบุตรวัยรุ่นตอนต้นและการปฏิบัติจริงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่นของบิดาในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expectaions [i.e. expectations] of the early adolescents and the actual practices on child rearing ot the fathers in mueng district of Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรพร เสี้ยนสลาย
อัจฉรา ภูระธีระ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชินรัตน์ สมสืบ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วัยรุ่น--การดูแล
วัยรุ่น--การอบรมเลี้ยงดู
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวัดระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่น และวัดระดับการปฏิบัติจริงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่นของบิดา (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่นที่มีปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางครอบครัวแตกต่างกัน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางครอบครัวของบุตรวัยรุ่นกับ ความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดา และ (4) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่นกับระดับการปฏิบัติจริงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่นของบิดา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในอําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2546 จํานวน 396 คน ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่น อยู่ในระดับสูงทั้งในภาพรวมและรายด้าน (2) ระดับการปฏิบัติจริงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของบิดาตามการรับรู้ของบุตรวัยรุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แต่การปฏิบัติจริงในด้านการดูแลสุขภาพ ด้านการสนับสนุนทางอารมณ์ และด้านส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (3) ระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่นที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรับผิดชอบ ระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความรับผิดชอบของบุตรวัยรุ่นระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย สามารถร่วมกันทํานาย ความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่นได้ร้อยละ 32.2 และ (5) ระดับความคาดหวังต่อบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูของบิดาของบุตรวัยรุ่นกับระดับการปฏิบัติจริงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของบิดามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1141
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 83790.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons