กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11422
ชื่อเรื่อง: การอภิปรายความเชิงวิพากษ์ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค 6 ตอนอวสานหงสา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Critical discourse on the Thai Film "The Legend of King Naresuan the Great part 6: Awasan-hongsa"
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ศรีดี
เมธาวิน สาระยาน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล
พีรยุทธ โอรพันธ์
คำสำคัญ: การสื่อสารทางการเมือง
ภาพยนตร์ไทย--วิจารณ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายความเชิงวิพากษ์ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 ตอนอวสานหงสาในเรื่อง 1) อุดมการณ์ทางการเมือง 2) การสื่อสารเรื่องอำนาจการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหลังนวสมัย เกี่ยวข้องกับการตีความ โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทบริบทและสัมพันธบท เป็นกรอบในการศึกษาแต่ละองค์ข้อมูล ที่ได้จากเนื้อความภาพยนตร์ฯ แล้วนำมาอธิบายโดยใช้การตีความหมายด้วยการวิเคราะห์การอภิปรายความเชิงวิพากษ์ ซึ่งต้องอาศัยหลักการโต้ตอบข้ามสาขา แล้วนำไปสู่การเชื่อมโยงความสัมพันธ์จากมุมมองของผู้วิจัยเพื่อได้ความคิดที่เป็นตัวแทนเรียกว่าการจัดหมวดหมู่ไปสู่การอภิปรายความที่สะท้อนสภาพของสังคมผลการวิจัยพบว่า 1) อุดมการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏในภาพยนตร์ฯ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการ คือ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองให้ความชอบธรรมในการใช้อำนาจของชนชั้นปกครองโดยมีลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช คือ กษัตริย์มีสิทธิ์ขาดในการบริหารและมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ มีการมอบหมายความไว้วางใจทั้งหมดให้กับกษัตริย์ เนื่องจากเชื่อว่ากษัตริย์นั้นเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเทพเจ้าและเป็นผู้ที่มีอำนาจและสิทธิ์เหนือประชาชนทุกคนตามแนวคิดของระบบเทวสิทธิ์ นอกจากนั้นยังพบว่าในภาพยนตร์ฯ ยังสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของกษัตริย์ที่เป็นธรรมิกราช คือ กษัตริย์ที่ปกครองโดยอาศัยธรรมะตามหลักพุทธศาสนา คือ หลักทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ควบคู่กันไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสงบสุขให้กับแผ่นดินและ 2) การสื่อสารเรื่องอำนาจที่ปรากฏในภาพยนตร์ฯ นั้น สามารถจำแนกอำนาจออกเป็น 3 แบบ คือ (1) อำนาจจารีต มีลักษณะสำคัญคือการสืบทอดการใช้อำนาจต่อเนื่องกันมาของกษัตริย์ ส่วนผู้ถูกปกครองได้ยินยอมและยอมรับในการอยู่ภายใต้การใช้อำนาจนั้นๆ (2) อำนาจบารมี มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวผู้นำที่มีลักษณะพิเศษของผู้นำที่แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา หรือมีความสามารถเหนือธรรมชาติ และ(3) อำนาจตามกฎหมาย มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การมุ่งเน้นการใช้กระบวนการทางการเมือง หลักการและบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นสำคัญ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11422
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157077.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons