กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11425
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Participatory communication in the cultural tourism communities : Mae Kam Pong Village, Chiang Mai Province, and Na Ton Chan Village, Sukhothai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนวิภา วงรุจิระ หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุษบา สุธีธร มนตรี กรรพุมมาลย์ |
คำสำคัญ: | การสื่อสารกับวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม--การมีส่วนร่วมของประชาชน หมู่บ้านแม่กำปอง หมู่บ้านนาต้นจั่น |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย 2) เปรียบเทียบกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งสองแห่ง 3) เสนอแนวทางพัฒนาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเริ่มต้นใช้การสื่อสารไม่เป็นทางการมีทิศทางการสื่อสารแบบบนลงล่าง เนื้อหาสารเน้นการสร้างรายได้และการพัฒนาสาธารณูปโภค ช่วงดำเนินการ ใช้การสื่อสารเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีทิศทางแบบแนวราบและบนลงล่าง ช่วงธำรงรักษา ใช้การสื่อสารกลุ่มมีทิศทางแบบหลายทิศทาง เนื้อหาสารเน้นการแก้ปัญหานายทุนภายนอก ส่วนชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหมู่บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย ช่วงเริ่มต้นใช้รูปแบบการสื่อสารไม่เป็นทางการมีทิศทางการสื่อสารแบบบนลงล่าง เนื้อหาสารเน้นการสร้างรายได้จากสินค้าโอทอป ช่วงดำเนินการ ใช้การสื่อสารเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีทิศทางแบบแนวราบและบนลงล่าง ช่วงธำรงรักษาใช้รูปแบบการสื่อสารกลุ่มแบบหลายทิศทาง เนื้อหาสารเน้นการแก้ปัญหาภายในชุมชน 2) เปรียบเทียบกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม พบว่า รูปแบบและทิศทางการสื่อสารของชุมชนทั้งสองแห่งเหมือนกัน เนื้อหาสารมีความแตกต่างกัน คือ ชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเริ่มต้นเน้นการสร้างรายได้และการพัฒนาสาธารณูปโภค ช่วงธำรงรักษาเน้นแก้ปัญหานายทุนภายนอก ชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย ช่วงเริ่มต้นเน้นพัฒนาผ้าทอหมักโคลนซึ่งเป็นสินค้าโอทอปของชุมชน ช่วงธำรงรักษาเน้นแก้ปัญหาภายในชุมชน และ 3) แนวทางพัฒนาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรแบ่งออกเป็น 3ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสื่อสารให้ข้อมูลข่าวสาร ใช้รูปแบบการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมีทิศทางแบบบนลงล่างระยะที่ 2 การสื่อสารแบบปรึกษาหารือกับชาวบ้าน รูปแบบการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการมีทิศทางแนวราบและล่างขึ้นบน ระยะที่ 3 การสื่อสารกลุ่มมีทิศทางการสื่อสารแบบหลายทิศทางที่กระจายอำนาจการสื่อสารให้ชาวบ้านทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11425 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
157135.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License