Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11426
Title: รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย
Other Titles: A model of group psychological counseling to enhance psychological well-being of the elderly in the Southern Border Province of Thailand
Authors: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุบลทิพย์ ไชยแสง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
ผู้สูงอายุ--สุขภาพจิต--ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบของสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย (2) พัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย และ (3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยผลการวิจัยปรากฏว่า (1) องค์ประกอบเชิงยืนยันของสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุชายแดนใต้ของประเทศไทยประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ความเป็นตัวของตัวเองความสามารถในการจัดการกับสิ่งแวดล้อม การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต และการเจริญเติบโตของความเป็นบุคคลซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยซึ่งพัฒนาภายใต้ทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 4 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการปรึกษาแบบภวนิยม ทฤษฎีการปรึกษาแบบเกสตัลท์ และทฤษฎีการปรึกษาแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพโดยเป็นลักษณะโปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มจำนวน 9 ครั้ง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อตั้งกลุ่มขั้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสมาชิก ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติการให้การปรึกษา และ (3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม พบว่า ค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุชายแดนใด้ที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ฯ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตโดยรวมหลัง การทดลอง และติดตามผล สูงกว่าก่อนการทดลอง ระยะหลังการติดตามผลสูงกว่าหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อรูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตได้ดี
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11426
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157149.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons