กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11438
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exposure, uses and gratifications towards Yannawa Temple's Dhamma Prateep series on online media
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวรรณ ริ้วสุขสันต์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: รายการโทรทัศน์--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
สื่อสังคมออนไลน์--การใช้ประโยชน์
ธรรมะ (พุทธศาสนา)--การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก รายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์ของผู้ชมรายการ 2) การได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ 3) การนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ 4) ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อเนื้อหารูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก รายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์กับการนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับชมรายการธรรมปทีป สัปดาห์ละครั้ง ในช่วงเวลา 12.01 -18.00 น. เปิดรับชมเพียงอย่างเดียวอย่างตั้งใจ ชมที่บ้าน/ที่พัก ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อช่องทางสื่อออนไลน์ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึก ในระดับมากโดยพึงพอใจวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกลึก เป็นลำดับแรก 2) ผู้ชมได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองได้ในระดับมาก 3) กลุ่มตัวอย่างนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนา ตนเอง ในระดับมาก 4) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกันและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกันได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจต่อช่องทางการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการถ่ายทอดขององค์พระธรรมกถึกของรายการธรรมปทีป วัดยานนาวา ทางสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการนำความรู้เกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองของผู้ชมรายการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม (นิเทศศาสตร์))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11438
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158806.pdfเอกสารฉบับเต็ม18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons