Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11442
Title: | การปฏิบัติงานตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Work performance adhering to training and visit system of agricultural extension officer in Uttaradit Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน กุณฑีราภัสสร ร้านกันทาพัทธ์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม |
Keywords: | การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--อุตรดิตถ์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (2) ความรู้และแหล่งความรู้ของเจ้าหน้าที่ต่อระบบส่งเสริมการเกษตรแบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (3) ความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อระบบส่งเสริมการเกษตรแบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการปฏิบัติงานในระบบส่งเสริมการเกษตร และ (5) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมการเกษตรผลการวิจัย พบว่า (1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนมากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เงินเดือน เฉลี่ย 27,723.75 บาท ระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่ น้อยกว่า 5 ปี กว่าครึ่งหนึ่งใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเดินทางไปทำงานในพื้นที่รับผิดชอบ (2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีระดับความคิดเห็นต่อความรู้และระดับการได้รับข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ของการปฏิบัติงานตามระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของระบบส่งเสริมการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการถ่ายทอดความรู้และการเยี่ยมเยียนอยู่ในระดับมากกว่าด้านอื่นๆ ความคิดเห็นต่อผลจากระบบส่งเสริมการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ระบบส่งเสริมการเกษตรทำให้เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร ซึ่งอยู่ในระดับมากกว่าประเด็นอื่นๆ และความพึงพอใจ ต่อระบบส่งเสริมการเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดการข้อมูลและด้านการถ่ายทอดความรู้ อยู่ในระดับมากกว่าด้านอื่นๆ (4) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความคิดเห็นต่อปัญหาของการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่มีภารกิจงานมาก นโยบายมีความเร่งด่วน มีปัญหามากกว่าด้านอื่นๆ สำหรับข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่เจ้าหน้าที่มากขึ้น, ควรมีการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ ให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานนอกจากนี้ (5) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร ด้านจุดแข็ง คือเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ,มีระบบจัดการฐานข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จุดอ่อนคือ เจ้าหน้าที่ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ โอกาส คือ เกษตรกรมีโอกาสได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ และอุปสรรค คือ การขาดสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และแนวทางการส่งเสริม ได้แก่ การส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้เป็นนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11442 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159167.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License