Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1145
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2546-2550
Other Titles: Citation analysis of educational administration theses, Rajabhat Universities in Northeastern Region, 2003-2007
Authors: ชุติมา สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทิมา เขียวแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา หักทะเล, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การอ้างถึงทางบรรณานุกรม
วิทยานิพนธ์
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอ้างถึงที่ปรากฏในบรรณานุกรมในวิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือในด้านจำนวนการ อ้างถึง ประเภท ขอบเขตเนื้อหา ภาษา และอายุของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง ประชากรที่ใช้การ วิจัย ได้แก่ วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2546-2550 จำนวน 924 ชื่อเรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบ บันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์ และแบบบันทึกข้อมูลเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 56,944 รายการ ประเภท ของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือหนังสือ เอกสารที่ได้รับการอ้างถึงมีขอบเขตเนื้อหาใน สาขาบริหารการศึกษา โดยจำแนกเป็นด้านหลักและกระบวนการบริหารการศึกษา ด้านการบริหาร จัดการการศึกษา และด้านการบริหารทรัพยากร ตามลำดับ ภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงมาก ที่สุดคือภาษาไทย และอายุของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด คือ กลุ่ม 6-10 ปี
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1145
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons