กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11453
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาละครโทรทัศน์ไทยกับการเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline to develop Thai television drama production into creative industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันทัด ทองรินทร์
สรรพัชญ์ เจียระนานนท์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริวรรณ อนันต์โท
พนา ทองมีอาคม
คำสำคัญ: ละครโทรทัศน์
ละคร--ไทย
โทรทัศน์--การผลิตและการกำกับรายการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายและมาตรการส่งเสริมละครโทรทัศน์ไทยกับการเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 2) กลยุทธ์สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยกับการเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3) ปัจจัยสนับสนุนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทยกับการเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ 4) แนวทางการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของละครโทรทัศน์ไทยผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในประเด็นที่รัฐบาลควรกำหนดการผลิตละครโทรทัศน์เป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีมาตรการ คือ การส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยร่วมกับสถาบันการศึกษาหรือการจัดตั้งหน่วยงานสถาบันการวิจัยพัฒนาและอบรมเฉพาะด้าน การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขอรับการสนับสนุนการจูงใจในรูปแบบต่างๆ การส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ การรวมกลุ่มกันเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพและมีความหลากหลาย 2) ด้านกลยุทธ์ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในประเด็นการนำเสนอโครงเรื่องที่แปลกใหม่ การพัฒนานักเขียนบทละคร การสนับสนุนเงินทุน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการผลิต การแสดง การสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรม การวางกลยุทธ์ทางการตลาดร่วมกัน การสร้างภาพลักษณ์ประเทศผ่านละครโทรทัศน์ การปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับอายุของผู้ชม 3) ด้านปัจจัยสนับสนุนการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ไทย ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในประเด็น การมีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมละครโทรทัศน์ที่ชัดเจนการคัดเลือกละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย การกำหนดพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนดเนื้อหาที่เหมาะสมกับข้อกำหนด วัฒนธรรม ศาสนา และค่านิยมในสังคมของแต่ละประเทศ 4) ด้านแนวทางการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของละครโทรทัศน์ไทย ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในประเด็น การพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ การส่งเสริมและพัฒนาตลาดละครโทรทัศน์ไทยที่มีคุณภาพ การส่งเสริมการจัดจำหน่ายและเผยแพร่ในทุกระดับ การปกป้องและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมความร่วมมือในการลงทุนระหว่างประเทศ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเป็นศูนย์กลางของเอเชียและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาละครโทรทัศน์ไทย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11453
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159474.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons