Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11465
Title: ระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า
Other Titles: A distance education system for Thai higher education in the next decade
Authors: สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมาลี สังข์ศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิพย์เกสร บุญอาไพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
นิตยา บุญปริตร, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การศึกษาทางไกล--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1I)ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน (2) พัฒนาระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า และ (3) ประเมินระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน 1) ด้านอุดมการณ์ของการศึกษาทางไกลเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ที่ไม่มีเวลา ไม่พร้อม ไม่สะดวกที่จะศึกษาแบบชั้นเรียน 2) ด้านการบริหารจัดการมีนโยบายที่ชัดเจน 3) ด้านการจัดการศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาคุณลักษณะสื่อ จิตวิทยา วิธีการสอนทางไกล ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนทางไกล และมีความเชื่อมั่นว่าจะสำเร็จการศึกษาได้ มีการใช้สื่อหลากหลายประเภท มีบริการให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเข้าเรียน และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลมีเครื่องมือที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือได้ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน พบว่า หลักสูตรไม่ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม ผู้เรียนบางส่วนขาดทักษะการใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนทางไกลมีปัญหาด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการวัดและประเมินผลไม่หลากหลาย (2) ผลการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) อุดมการณ์ ที่มุ่งเน้นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต 2) การบริหารและจัดการ โดยมหาวิทยาลัยต้องสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง และมีการใช้วิธีทางการตลาด 3) หลักสูตร ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 4) ผู้สอน มีความรู้ในเนื้อหาวิชา สือ จิตวิทยา และวิธีการถ่ายทอดทางไกล 5) ผู้เรียน มีความสามารถในการเรียนด้วยการนำตนเอง 6) การจัดการเรียนการสอน เพื่อวุฒิการศึกษา การประกอบอาชีพ และการพัฒนาทักษะชีวิต 7) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทางไกล เป็นสื่อที่ตอบสนองการเรียนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและตอบสนองการเรียนรายบุคคล 8) การให้บริการสนับสนุนผู้เรียน เริ่มตั้งแต่ผู้เรียนตัดสินใจเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษาในลักษณะแบบเผชิญหน้าและแบบออนไลน์ 9) การวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลแบบครบวงจรผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีระบบการเทียบระดับและเทียบโอนผลการเรียน 10) การประกันคุณภาพการศึกษาทางไกล มีระบบประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย และ 11) การวิจัยสำหรับการศึกษาทางไกลในด้านสภาพและความต้องการการจัดการศึกษาทางไกล หลักสูตร สื่อการศึกษาทางไกล และบริการสนับสนุนผู้เรียน และ (3) ผลการประเมินระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยว่าระบบการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (การศึกษาทางไกล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11465
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159483.pdfเอกสารฉบับเต็ม31.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons