กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11485
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The risk factors of fall of in-patients, a regional hospital in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรัสวดี เที่ยงวิบูลย์วงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิกานต์ หนูเอก, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การหกล้ม
การหกล้มในผู้สูงอายุ
ผู้ป่วยใน--ไทย--กรุงเทพมหานคร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างปีงบประมาณ 2557-2560 รวม 176 ฉบับ พบอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม 76 ฉบับ และไม่พบอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม 100 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม เป็นแบบเลือกตอบและเติมคำจำนวน 13 ข้อ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) ข้อมูลหอผู้ป่วย และ 2) ข้อมูลผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการพลัดตกหกล้ม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มเกินกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 56.6) อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 94.7) ไม่มีประวัติการพลัดตกหกล้มภายใน 1 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะโรคร่วม ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 82.9 ช่วงเวลาที่เกิดการพลัดตกหกล้มสูงสุด คือ ช่วงเวรเช้า คิดเป็นร้อยละ 31.1 โดยร้อยละ 50 เกิดที่ข้างเตียง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48. 7) ไม่บาดเจ็บ แต่ต้องเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคร่วมทางระบบประสาทและสมอง โรคร่วมทางระบบกระดูก และโรคร่วมทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเหล่านี้มีโอกาสเกิดการพลัดตกหกล้มมากว่าผู้ป่วยที่ไม่มีโรคร่วม ถึง 2.61, 2.30 และ 0.50 เท่า ตามลำดับ (OR 2.61, 2.30, 0.50; p<0.05)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11485
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163609.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons