กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11491
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting work efficiency of the government officials, Department of Provincial Administration in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัทมพร พรมทอง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สมรรถภาพในการทำงาน
การจูงใจในการทำงาน
ข้าราชการ--ทัศนคติ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ (3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงสำรวจ การศึกษานี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรมการปกครองที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย นายอำเภอ, ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงาน, ปลัดอำเภอ/เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่สายงานการเงิน เจ้าหน้าที่ปกครอง จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครองจังหวัดสกลนคร มีจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยสุขวิทยา ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 46.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร ได้แก่ การกำหนดโยบายที่ผ่านการมีส่วนร่วมโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนและดำเนินการได้จริง การปกครองและบังคับ บัญชาโดยยึดหลักเหตุผล การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การปรับปรุงเงินเดือน/ผลตอบแทนที่เหมาะสม และการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11491
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168980.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons