Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11498
Title: การพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The development of an instrument to assess learning aspiration desirable characteristic for Mathayom Suksa I students in Schools under Bangkok Metropolitan Administration
Authors: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ชัยพฤกษ์ พรหมเรือง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศศิธร กาญจนสุวรรณ
Keywords: การประเมินผลทางการศึกษา
การวัดผลทางการศึกษา--เครื่องมือ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา2562 จำนวน 480 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่พัฒนาเป็นแบบประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านได้เรียนรู้ และแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านได้เรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือในด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง อำนาจจำแนก และความเที่ยงผลการวิจัยปรากฏว่า (1) เครื่องมือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านได้เรียนรู้มี 2 ฉบับ คือ แบบประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ครูเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน จำนวน 20 รายการ และแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ มีลักษณะแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีภาพประกอบทุกข้อ โดยตัวเลือกมีเกณฑ์การให้คะแนนที่ต่างกัน ตั้งแต่ 1 - 4 คะแนน จำนวน 20 ข้อ และ (2) แบบประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ มีความตรงเชิงเนื้อหา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง .60 ถึง 1.00 อำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง .32 ถึง .53 ความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 และความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าค่าที่จำแนกระหว่างกลุ่มสูงและต่ำเท่ากับ 6.78 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านไฝ่เรียนรู้ มีความตรงเชิงเนื้อหา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง .60 ถึง 1.00 ตรวจสอบค่าอำนาจจำแนกด้วยสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมมีค่าระหว่าง .23 ถึง .80 ค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าค่าที เท่ากับ 39.91 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าคะแนนที่ได้จากการทำแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11498
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163565.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons